ชาวโลกต่างพากันตกตลึงกันพอสมควรหลังจากที่ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg ค.ศ 1874-1951) สตราวินสกี (Igor Stravinsky ค.ศ. 1882- 1971) และจอร์จ เกอร์ซวิน (George Gershwin ค.ศ.1898-1937)ได้นำรูปแบบใหม่ของดนตรี คลาสสิกให้กับผู้ฟังรู้จักในยุโรปโดยเฉพาะเพลง Rhapsody in Blue ในปี ค.ศ. 1924 โดยการนำเอาวลีของแจ๊สมาผสมกับลีลาของดนตรีคลาสสิกเป็นเวลาเดียวกันกับดนตรีรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นใน สหรัฐอเมริกาคือ ดนตรีแจ๊ส ผู้ริเริ่มรูปแบบดนตรีแจ๊ส ได้แก่ชนผิวดำที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกันซึ่งเป็นชนเชื้อชาติอัฟริกันลักษณะโดยทั่วไป ของแจ๊สคือดนตรีที่ใช้การสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) การใช้จังหวะขัด จังหวะ ตบที่สม่ำเสมอ และสีสันที่โดดเด่นรวมทั้งลักษณะเฉพาะของการบรรเลงดนตรีแม้ว่า แจ๊สเป็นคำที่ เริ่มใช้กันประมาณปี ค.ศ. 1917 แต่ดนตรีแจ๊สเริ่มได้ยินกันมาแล้วเมื่อประมาณ ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุที่ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีที่แสดงกันสด ๆ ไม่มีโน้ตจึงไม่มีหลักฐานใด ๆ เหลืออยู่ให้ทราบว่า ดนตรีแจ๊สมีกำเนิดมาเมื่อใดอย่างแน่ชัดและมีลักษณะอย่างไร นอกจากนี้ก่อน ค.ศ. 1923มีการบันทึกเสียงดนตรีแจ๊สไว้น้อยมาก และไม่มีการบันทึก เสียงไว้เลยก่อน ค.ศ. 1917 นอกจากดนตรีแจ๊สของวง The Original Dixieland Band ![]() ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของแจ๊สเป็นต้นมาดนตรีแจ๊สมีการพัฒนารูปแบบแตกต่างกันออกไป หลายประเภทเช่นแบบนิวออร์ลีน (New Orleans)หรือดิกซีแลนด์ (Dixieland) สวิง (Swing) บีบอป(Be-bop) คลู (Cool) ฟรีแจ๊ส (Free jazz) และ แจ๊สร็อค (Jazz rock) เป็นต้น นักดนตรีแจ๊สที่เด่นเช่นหลุยส์ อาร์มสตรอง(Louis Armstrong) ดยุค แอลลิงตัน (Duke Ellington) เบนนี กูดแมน (Benny Goodman) ชาร์ลี ปาร์เกอร์ (Charlie Parker) และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ดนตรีแจ๊สมีผลต่อดนตรีแบบอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ป๊อป หรือดนตรีคลาสสิก ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงหลายคน นำเอาลักษณะของดนตรีแจ๊สไปใช้ในการ ประพันธ์เพลงเช่น ราเวล สตราวินสกี และคอปแลนด์ เป็นต้น ![]() ![]() |
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555
ดนตรีแจ๊ส
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น