วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ดนตรีและการบำบัด (Music Therapy)



ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา

ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผล ดังนี้

ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต,

การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือดผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง

สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์, สติสัมปชัญญะ, จินตนาการ, การรับรู้สภาพความเป็นจริง

และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา



องค์ประกอบต่าง ๆ ของดนตรี ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น


1. จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ (Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย (Relax)
2. ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ
3. ความดัง (Volume / Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่ม จะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดัง
  ทำให้เกิดการเกร็ง กระตุก ของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบการควบคุมตนเองได้ดี
  มีความสงบ และเกิดสมาธิ
4. ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล
5. การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่าง ๆ
  จากบทเพลง


ดนตรีบำบัดคืออะไร


     ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา

และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบ



วิธีทางวิทยาศาสตร์


เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา

ด้านการแพทย์  ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด



ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุ และหลากหลายปัญหา ลักษณะเด่น ได้แก่

1. ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย
2. กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน
3. กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
4. ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจ
5. เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร
6. ให้การรับรู้ที่มีความหมาย และความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน
7. ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ



ประโยชน์ของดนตรีบำบัด


ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามเป้าหมาย

เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา

และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอัลไซเมอร์, ปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง, ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ

สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และในการออกกำลังกาย

เสริมสร้างสุขภาพ


ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้


1. ปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก
2. ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (Anxiety / Stress Management)
3. กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)
4. กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ (Perception)
5. เสริมสร้างสมาธิ (Attention Span)
6. พัฒนาทักษะสังคม (Social Skill)
7. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)
8. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill)
9. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tension)
10. ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ (Pain Management)
11. ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Behavior Modification)
12. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ (Therapeutic Alliance)
13. ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเองการแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว



      โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เสริมสร้างสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่นๆ



กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด


     ในการทำดนตรีบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้


1. การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา
     - ศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัว และประวัติทางการแพทย์
     - ประเมินปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการบำบัด
     - ประเมินสุขภาวะ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และทักษะการคิด


2. วางแผนการบำบัดรักษา
     - ออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ
     - รูปแบบผสมผสาน กระบวนการต่าง ๆ ทางดนตรี เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง ประสานเสียง จินตนาการตาม

       หรือลีลาประกอบ เป็นต้น


3. ดำเนินการบำบัดรักษา
     - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัด กับผู้รับการบำบัด โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ
     - ทำดนตรีบำบัด ร่วมกับการบำบัดรักษารูปแบบอื่น ๆ แบบบูรณาการ


4. ประเมินผลการบำบัดรักษา
     - ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และปรับแผนการบำบัดให้เหมาะสม



ดนตรีบำบัดในโรงพยาบาล


ในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีการนำดนตรีบำบัดมาร่วมบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ กัน ดังตัวอย่างเช่น


1. กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
2. ช่วยเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว รุนแรง อยู่ไม่นิ่ง ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด และการบำบัดโดยใช้ยา
4. ช่วยให้สงบ และนอนหลับได้ ในผู้ที่มีความกลัว ความเครียด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อม และการใช้ยา
5. ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ร่วมกับการใช้ยา และจิตบำบัดในโรคซึมเศร้า
6. เสริมในกระบวนการบำบัดต่าง ๆ ทางจิตเวช
7. ลดความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดดนตรีบำบัดในโรงเรียน



ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ


1. เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็ก ในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร

    ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย

2. เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


BrainWave คลื่นสมอง


     การทำงานของสมอง คือการรับส่งข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้า และการเคลื่อนไหวของพลังงานเหล่านี้

ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ คลื่นสมอง



นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือ Electroencephalogram (EEG) จับภาพสัญญาณไฟฟ้าบริเวณสมอง และแบ่งออกได้เป็น 4
กลุ่มดังนี้

[Image: brain-wave-1.gif]

บูลส์กับเเจ๊สต่างกันตรงไหน

เริ่มจาก บลูก่อน นะครับ
คำว่า " บลูส์ " มีหลายความหมาย ดังนี้ 
         1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า 
         2. เป็นลำเนาแห่งบทกวี 
         3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ 
         4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า
            ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด  

    บลูส์เป็นดนตรีที่เริ่มรู้จักกันในราว 1890 ลักษณะสำคัญคือการใช้เสียงร้องหรือเสียงของ เครื่องดนตรี
ที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียงซึ่งเรียกว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็น
เพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการ อิมโพรไวเซชั่นไปจาก
ทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี แบสซี สมิธ (Bessie Smith) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง
เป็นที่รู้จักจากการร้องเพลงบลูส์ โดยเฉพาะเพลง Lost Your Head Blues และ Put it Right There

รูปลักษณ์ของบลูส์
         บทร้องเพลงบลูส์มีลักษณะเหมือนกับบทกวีของอเมริกันโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 3 บรรทัด แต่ละ
บรรทัดประกอบด้วย 5 พยางค์ 2 ชุด บรรทัดที่สองคำมักซ้ำกับบรรทัดแรก บรรทัด ที่ สาม เป็นข้อความที่
เปรียบเสมือนตอบรับบรรทัดที่หนึ่งและสองซึ่งอาจสมมติรูปแบบเป็น A AB 

I'm going'to the river, take my rocker chair, 
I'm going'to the river, take my rocker chair, 
If the Blues overtake me, gonna rock away.


ทีนี้มาถึง แจ๊สบ้าง นะครับ

         แจ๊สเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชนผิวดำ 
ต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมาจากดนตรีพื้นเมืองของชาวอัฟริกันตะวันตก ดนตรีของ อเมริกันเองและ
ดนตรีจากยุโรป จากแรกไทม์ และบลูส์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 แจ๊ส
เริ่มมีวิวัฒนาการขึ้น โดยมีกำเนิดที่เมืองนิวออร์ลีน แจ๊สยุคนี้เรียกว่าดิกซีแลนด์ ลักษณะของแจ๊ส คือ 
การบรรเลงแบบอิมโพรไวเซชั่น จากทำนองหลักที่มีอยู่และใช้จังหวะขัด การ ประสานเสียง แปลก ๆ 
ทำให้ดนตรีแจ๊สมีเอกลักษณ์เด่นชัด แจ๊สมีการพัฒนาเรื่อยมาจากยุคแรกทำ ให้เกิดแจ๊สในรูปแบบต่าง ๆ

จังหวะ ทำนอง และเสียงประสาน (Rhythm, Melody, and Harmony)
         ลักษณะเด่นของจังหวะในดนตรีแจ๊ส คือ จังหวะขัด (Syncopation) และจังหวะสวิง สวิงเกิดจาก
การบรรเลงจังหวะตบผนวกกับความรู้สึกเบาหรือลอยความมีพลังแต่ผ่อนคลายในที และการรักษาจังหวะ
สม่ำเสมอ

คลูแจ๊ส (Cool Jazz)
         ในช่วงปลายของทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950 แจ๊สอีกประเภทหนึ่งพัฒนาตาม บีบอบ
ขึ้นมา แต่แจ๊สประเภทนี้มีความนุ่มนวล ช้า ๆ กว่าบีบอบ คือ คูลแจ๊ส (Cool jazz) ท่วงทำนองจังหวะตลอด
จนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบ ๆ และเป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบอบ เป็นเพลงที่มีการเรียบ
เรียงเสียงประสานไว้ก่อนการบรรเลง และมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างไปจากแจ๊สยุคก่อน ๆ เช่น ใช้ฮอร์น 
ฟลูท และเชลโล นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้แก่ ซอนนี โรลลินส์ (Sonny Rollins), จอห์น โคลเทรน (John
Coltrane), ไมลส์ เดวิส (Miles Davis), บีบี คิงส์ (B.B.King), เลสเตอร์ ยัง (lesterYoung), สแตน เกตซ์ 
(Stan Getz)

ฟรีแจ๊ส (Free Jazz)
         ในราวทศวรรษ 1960 รูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ ฟรีแจ๊ส โดยออร์เนตต์ โคลแมน (Ornett Coleman) 
นักเป่าอัลโตแซกโซโฟนผู้ไม่เคยเรียนทฤษฎีดนตรีมาก่อน ซึ่งมีความคิดที่ไม่ต้องการยึดรูปแบบแจ๊ส
ดั้งเดิมคือการมีทำนองหลักและบรรเลงโดยการอิมโพรไวเซชั่นจากทำนองหลัก จึงรวบรวมวงซึ่งมี 8 คน
บรรเลงเพลงโดยอิสระทั้งในด้านทำนอง รูปแบบ และการประสานเสียง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียง
คร่าว ๆ เท่านั้น โคลแมน ยังคงใช้การอิมโพรไวเซชั่นของทำนอง และจังหวะ และมักเน้นจังหวะตบหรือ
การรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มี
อิสระในการบรรเลงมากขึ้น นอกจากโคลแมนแล้วยังมี John Cottrane ที่ยึดรูปแบบฟรีแจ๊ส

แจ๊สร็อคหรือฟิวชั่น (Jazz Rock & Fusion)
         ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เพลงร็อคมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้เกิดแจ๊สรูปแบบใหม่ขึ้น คือแจ๊สร็อค 
หรือฟิวชั่น ลักษณะของฟิวชั่น คือ การผนวกการอิมโพรไวเซชั่นในการบรรเลงดนตรี โดยการใช้รูปแบบ
จังหวะ และสีสันของเพลงร็อค รวมถึงการใช้เทคนิคการบันทึกเสียงด้วยสีสันของเสียงดนตรีต่าง ๆ 
ที่แปลกออกไปที่เราเรียกว่า " เอ็ฟเฟ็ค " (effect) เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่น จึงมักประกอบด้วยเครื่องดนตรี
ดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออิเลคโทรนิค ซึ่งใช้ระบบ มิดี้ (MIDI = Musical Instrument Digital 
Interface) โดยเฉพาะคีย์บอร์ดที่ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะมักจะใหญ่กว่าแจ๊ส
ยุคก่อน ๆ และบางครั้งมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติร่วมบรรเลงด้วย เช่น เครื่องดนตรีจากอัฟริกา ละตินอเมริกา
อินเดีย  หรือ ในประเทศไทยเองก็ยังมีการนำเครื่องดนตรีไทยเข้าบรรเลงร่วมด้วย เช่น วงบอยไทย มีการ
นำระนาดเอกผสมในวง , อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ก็ได้มีการนำขลุ่ยไทยบรรเลงดนตรีลักษณะนี้เช่นกัน
ลักษณะเฉพาะอีกสองประการของฟิวชั่น คือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบส และการซ้ำทวนของจังหวะ 
นักดนตรีที่ควรรู้จักเช่น เฮอร์บี แฮนนคอก (HerBie Hancock), ชิค โคเรีย (Chick Corea) เคนนี จี (Kenny 
G.), เดฟ โคซ (Dave Koz) , เดวิด แซนบอร์น (David Sanborn) โกรเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์ (Grover 
Washington,Jr) บอบ เจมส์ (Bob James) ครับ




ประวัติดนตรีบลูส์


Blues
เพลงบลูส์ (Blues) เป็นเพลงของคนผิวดำ ซึ่งในสมัยก่อนพวกทาสในอเมริกาใช้ร้องเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและความทุกข์ยากในชีวิต สมัยนั้นในอเมริกาทุกคนต่างถือว่า ทาสเป็นเพียงสินค้าอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีสิทธิใดๆ ทั้งสิ้นนอกจากทำงานหนักเพียงอย่างเดียว แม้แต่วัฒนธรรมของพวกทาสก็ยังถูกกำจัดให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง เว้นแต่บางสิ่งบางอย่างเท่านั้นที่ยังคงเหลือเอาไว้เพื่อประโยชน์ต่อนายทาส พวกทาสต้องนับถือศาสนาคริสต์ จะนับถือศาสนาของตัวเองไม่ได้ ความป่าเถื่อนของเรือบรรทุกทาส การประมูลทาสเยี่ยงสัตว์ป่า การใช้แรงงานทาสอย่างทารุณ ล้วนเป็นการทำลายจิตใจของพวกทาสชาวอาฟริกันอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ความคับแค้นและความลำบากอย่างแสนสาหัสนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเพลงบลูส์ขึ้น เสียงเพลงที่เปล่งออกมาสามารถบีบคั้นอารมณ์คนฟังได้ เพราะเนื้อหาของเพลงนั้นได้หยิบยกมาจากความเป็นอยู่และและชีวิตที่แสนลำเค็ญของพวกทาส สะท้อนถึงอารมณ์และถ่ายทอดเป็นบทเพลงได้เป็นอย่างดี

เพลงบลูส์มีต้นกำเนิดมาจากเพลงที่พวกทาสชอบร้องเวลาทำงานเป็นหมู่คณะเพื่อให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้ผู้ที่ได้ฟังมีความรู้สึกแจ่มใสตามไปด้วย เช่น การร้องด้วยเสียงที่ดังลั่นที่มีทั้งเสียงทุ้มและต่ำอย่างไพเราะ หรือเสียงที่สูงจนแสบแก้วหู เมื่อคนอื่นร้องจบคนอื่นก็จะสอดรับขึ้นทันที ทีละคนสองคนและแล้วก็เพิ่มขึ้นจนเป็นเสียงลูกคู่ร้องรับกันไปในที่สุด การร้องเพลงแบบนี้เรียกว่า ฮอลเลอร์‘ (Hollers – เสียงกู่ร้องที่ก้องกังวานอย่างโหยหวน) ซึ่งมักได้ยินเมื่อคนผิวดำทำงานเป็นหมู่คณะตามท้องไร่หรือที่อื่นๆ เป็นเพลงที่กลายเป็นแนวทางอย่างหนึ่งของเพลงบลูส์ เพลงฮอลเลอร์นี้ไม่สามารถที่จะอธิบายถึงลักษณะที่แน่นอนได้เพราะมีการต่อเติมให้แปลกแหวกแนวออกไปเรื่อยๆ ตามความคิดของนักร้องแต่ละคน แต่ลักษณะเด่นของเพลงฮอลเลอร์คือ ในเพลงจะมีระดับเสียงที่ลงต่ำแล้วกลับขึ้นสูงโดยเร็ว การขึ้นเสียงและผ่อนเสียงในระดับเช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของฮอลเลอร์ เพลงบลูส์นั้นได้รับเอาแบบฉบับของดนตรียุโรปเข้ามาผสมกับเพลงทำงาน และเสียงกู่ร้องในไร่ (Cornfield Holler) เป็นแบบฉบับดั้งเดิมที่ตกทอดมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายของชาวอาฟริกันหลายชั่วอายุคนจนกลายเป็นแบบฉบับของเพลงบลูส์ขึ้นมา เพลงบลูส์มีรูปร่างที่แน่นอนขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเนื้อร้องบทละ 3 บรรทัด ร้อง 12 จังหวะตามแบบของนักร้องบัลลาด แม้ว่าเพลงบลูส์จะมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัวอย่างไรก็ตาม แต่ยังมีลีลาการร้องแบบฮอลเลอร์ (การร้องแบบด้นสด) เข้าไปแทรกอยู่ด้วย ทำให้บลูส์มีลักษณะพิเศษของตัวเอง

เพลงบลูส์เป็นเพลงที่ร้องไปกับการเล่นดนตรี แสดงออกถึงอารมณ์ นักร้องเพลงบลูส์นั้นไม่ต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของคนอื่น แต่จะร้องออกมาเป็นอารมณ์ของตัวเอง เมื่อความโศกเศร้าต่างๆ ได้ผ่านไปแล้วก็สามารถที่จะร้องเพื่อความเพลิดเพลินของตัวเองหรือเพื่อนพ้องได้ ลีลาและน้ำเสียงของบลูส์นั้นเต็มไปด้วยความล้ำลึกที่มาจากความปวดร้าวภายในที่แอบซ่อนอยู่ บอกกล่าวต่อผู้ฟังอย่างเศร้าสร้อยและโหยหวน ลักษณะเด่นอีกอย่างของดนตรีบลูส์คือ เป็นเพลงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนตัวนักร้องอย่างแท้จริง นักร้องเพลงบลูส์จะสามารถร้องเพลงที่เกี่ยวกับตัวเองเสมอ

ชาร์ลี แพทตัน (Charley Patton) ชาวมิสซิสซิปปี้เป็นนักดนตรีที่สำคัญของประวัติศาสตร์เพลงบลูส์คนหนึ่ง การร้องที่เต็มไปด้วยเสียงกระแทกกระทั้นอย่างรุนแรงและคำรามอย่างแข็งกร้าว นักดนตรีบลูส์หลายคนเป็นลูกศิษย์หรือได้รับอิทธิพลจากเขา

ไบลนด์ เลมอน เจ็ฟเฟอร์สัน (Blind Lemon Jefferson) เขาเป็นชาวเท็กซัสเป็นนักร้องตาบอดที่น่าสงสารมาก เสียงของเขาแหบสูง เหมือนจะเชือดเฉือนกรีดลงไปในขั้วหัวใจของผู้ที่ได้ฟัง เขาเล่นกีตาร์ไปตามจังหวะและโน้ตเพื่อเน้นคำร้องไปด้วยกับการดีดกีตาร์อย่างแรงๆ และรวดเร็ว นักร้องเพลงบลูส์ที่ยิ่งใหญ่อีกคนคือ ไรเลย์ คิง (Riley king) เขาเกิดที่มลรัฐมิสซิสซิปปี้ เป็นผู้ที่ชอบสร้างสรรค์เพลงบลูส์รูปแบบใหม่อยู่เสมอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บลูส์ บอย คิง‘ (Blues Boy King) แล้วในไม่ช้าคำว่า บลูส์บอยก็หดหายไป คงเหลือแต่ตัวย่อว่า บี.บี. จึงมีคนเรียกชื่อเขาแต่เพียงชื่อ บี.บี.คิง (B.B. KING) เท่านั้น

นักดนตรีบลูส์ที่สำคัญคนอื่นๆ เช่น จอห์น ลี ฮูเกอร์ (John Lee Hooker) ชาวเท็กซัส ดนตรีของเขามีเอกลักษณ์ทั้งการร้องและการเล่นกีตาร์ เพลงบลูส์ของเขาเต็มไปด้วยความดื่มด่ำลึกซึ้ง
โบ ดิดด์เลย์ (Bo Diddley) ชาวเมืองชิคาโก วงดนตรีของเขาจะเล่นดนตรีที่หนุ่มสาวชาวผิวดำกำลังคลั่งไคล้กันอย่างหนัก เป็นเพลงที่สนุกเร้าใจ

ตัวอย่างเพลงเเนวบูลส์

ประวัติดนตรี ROCK


THE STORY OF ROCKเมื่อปี 1955 ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ทำให้โลกดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเกิดดนตรีรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหวาน ทั้งร้อนแรง โศกเศร้า จริงใจ เปิดเผย ผสมผสานกันด้วยความรุนแรง เร่าร้อน ดุดัน แต่บางขณะกลับอ่อนหวานเกินคาดเดา Rock 'n' Roll
เมื่อ Bill Haley and his Comets นำเพลง (We're Gonna) Rock Around the Clock ขึ้นอันดับ 1 ในบิลล์บอร์ดชาร์ท เมื่อวันที่ 9 ก.ค.1955 และอยู่ในตำแหน่งนั้นนานถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ (Rock 'n' Roll) ได้เกิดขึ้นแล้ว Chuck Berry, Little Richar, Fats Domino, Bo Diddley, Ray Charles เป็นศิลปินผิวดำที่ร่วมสร้างดนตรีร็อคแอนด์โรลล์ขึ้นมาเมื่อกลางทศวรรษ ที่ 50 ด้วยเพลงร็อคดีๆมากมาย แต่ดูเหมือนร็อคแอนด์โรลล์จะขาดอะไรไปบางอย่าง
จนการมาถึงของหนุ่มนักร้องผิวขาวที่ชื่อ เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) ต้นปี 1956 เอลวิส ในวัย 21 กับเพลง Heartbreak Hotel ที่ขึ้นอันดับ 1 ก็โด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เอลวิสมีเพลงฮิตหลายเพลงในปีนั้นเช่น Blue Suede Shoes, I Want You I Need You I Love You, Hound Dog, Don't Be Cruel, Love Me, Anyway You Want Me และ Love Me Tender ส่งผลให้เขากลายเป็นราชาร็อคแอนด์โรลล์ไปในทันที Carl Perkins, Jerry Lee Lewis, Buddy Holly, Gene Vincent, The Everly Brothers, Ricky Nelson, Roy Orbison เป็นศิลปินรุ่นต่อมาที่ได้ร่วมสร้างดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ให้แข็งแรงขึ้น

ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกิดจากส่วนผสมของดนตรีหลายอย่างที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เช่น Country, Gospel, Blues และ Rhythm and Blues แต่ก็ต้องขอบคุณต่อเสน่ห์ของเอลวิส ที่ทำให้ร็อคแอนด์โรลล์โด่งดังและเติบโต มาได้ถึงทุกวันนี้ แต่แล้ว เมื่อต้นทศวรรษที่ 60 ดนตรี ร็อคแอนด์โรลล์ เกือบจะพบจุดจบ เพราะความคลั่งไคล้ในร็อคแอนด์โรลล์ ก่อให้เกิดการเลียนแบบอย่างไร้สาระ ถึงแม้จะมีศิลปินเกิดใหม่มากมาย แต่ก็ไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง คราวนี้ร็อคแอนด์โรลล์ต้องขอบคุณต่อหนุ่มชาวอังกฤษ 4 คน ในนามของ The Beatles British Invasion
 


บริทิช อินเวชั่น (Britiah Invasion) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1964 โดยคณะนักดนตรีจากอังกฤษจำนวนมากมาย นำรูปลักษณ์ และบทเพลงใหม่ๆ ออกท้าทายวงการร็อคแอนด์โรลล์ มันกลายเป็นการพัฒนาดนตรีร็อคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด หลังจากเอลวิส เพรสลีย์ และนักดนตรีชาวอเมริกันหลายคนสร้างขึ้นมา แม้พวกเขาจะเป็นเพียงหนุ่มวัยรุ่น 4 คน ที่เกิดมาในครอบครัวของชนชั้นกรรมาชีพจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แต่เมื่อได้รวมตัวกันในนามของ The Beatles และสร้างผลงานเพลงขึ้นมา พวกเขาก็ไม่ใช่แค่วงดนตรีธรรมดา

เดอะ บีเทิลส์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่ในวงการดนตรี แต่ยังหมายถึง แฟชั่น วัฒนธรรม ศิลปทุกแขนง ไปจนถึงการเมือง อิทธิพลของพวกเขาไม่ใช่แค ทรงผม ท่าทาง เสื้อผ้า หรือรองเท้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแนวความคิด วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น


ประวัติความเป็นมาของแจ๊ส

 ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชี่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อาฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro - American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา 
      
      อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรีมีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่สามารถอนุมานได้ว่าดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่มความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่าแหล่งอื่น ๆ ก็คือ การใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึงอยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ,2535 : 187) 

      ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับ ซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถม อัฟริกาตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง 
ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีน หลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกา ก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ 

      เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำเป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน ีลีลาที่พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำนี้เรียกว่า " เพลงบูลส์ " (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาเพลงแจ๊ส 

      ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊สใน ยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน ( ประสิทธ์ เลียวสิริพงศ์ , 2533 :30)


พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส

 นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง 

      ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสานกับ ดนตรีแจ๊ส

แรกไทม์ (Ragtime)

เป็นดนตรีที่นิยมกันในช่วงระหว่าง 1890-1915 ลักษณะของแรกไทม์คือดนตรีสำหรับเปียโนที่ใช้จังหวะขัดเป็นหลัก เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 2/4 หรือจังหวะมาร์ช ในขณะที่การบรรเลงเปียโนโดยมือขวาเป็นแนวทำนองที่ใช้จังหวะขัดมือซ้ายจะรักษาจังหวะตบในลักษณะของเพลงมาร์ชผู้ที่จัดเป็นราชาเพลงแรกไทม์ คือ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin) เพลงเด่น ๆ เช่น เพลง Maple Leaf Rag



ดนตรีแจ๊ส


ชาวโลกต่างพากันตกตลึงกันพอสมควรหลังจากที่ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg ค.ศ 1874-1951) สตราวินสกี (Igor Stravinsky ค.ศ. 1882- 1971) และจอร์จ เกอร์ซวิน (George Gershwin ค.ศ.1898-1937)ได้นำรูปแบบใหม่ของดนตรี
คลาสสิกให้กับผู้ฟังรู้จักในยุโรปโดยเฉพาะเพลง Rhapsody in Blue ในปี ค.ศ. 1924 โดยการนำเอาวลีของแจ๊สมาผสมกับลีลาของดนตรีคลาสสิกเป็นเวลาเดียวกันกับดนตรีรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นใน สหรัฐอเมริกาคือ ดนตรีแจ๊ส ผู้ริเริ่มรูปแบบดนตรีแจ๊ส

 ได้แก่ชนผิวดำที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกันซึ่งเป็นชนเชื้อชาติอัฟริกันลักษณะโดยทั่วไป ของแจ๊สคือดนตรีที่ใช้การสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) การใช้จังหวะขัด จังหวะ ตบที่สม่ำเสมอ และสีสันที่โดดเด่นรวมทั้งลักษณะเฉพาะของการบรรเลงดนตรีแม้ว่า แจ๊สเป็นคำที่ เริ่มใช้กันประมาณปี ค.ศ. 1917 แต่ดนตรีแจ๊สเริ่มได้ยินกันมาแล้วเมื่อประมาณ ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุที่ดนตรีแจ๊สเป็นดนตรีที่แสดงกันสด ๆ ไม่มีโน้ตจึงไม่มีหลักฐานใด ๆ เหลืออยู่ให้ทราบว่า ดนตรีแจ๊สมีกำเนิดมาเมื่อใดอย่างแน่ชัดและมีลักษณะอย่างไร 


      นอกจากนี้ก่อน ค.ศ. 1923มีการบันทึกเสียงดนตรีแจ๊สไว้น้อยมาก และไม่มีการบันทึก
เสียงไว้เลยก่อน ค.ศ. 1917 นอกจากดนตรีแจ๊สของวง The Original Dixieland Band


ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของแจ๊สเป็นต้นมาดนตรีแจ๊สมีการพัฒนารูปแบบแตกต่างกันออกไป
หลายประเภทเช่นแบบนิวออร์ลีน (New Orleans)หรือดิกซีแลนด์ (Dixieland) สวิง (Swing)
บีบอป(Be-bop) คลู (Cool) ฟรีแจ๊ส (Free jazz) และ แจ๊สร็อค (Jazz rock) เป็นต้น

นักดนตรีแจ๊สที่เด่นเช่นหลุยส์ อาร์มสตรอง(Louis Armstrong) ดยุค แอลลิงตัน
(Duke Ellington) เบนนี กูดแมน (Benny Goodman) ชาร์ลี ปาร์เกอร์ (Charlie Parker) และ
จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ดนตรีแจ๊สมีผลต่อดนตรีแบบอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี
ป๊อป หรือดนตรีคลาสสิก ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงหลายคน นำเอาลักษณะของดนตรีแจ๊สไปใช้ในการ
ประพันธ์เพลงเช่น ราเวล สตราวินสกี และคอปแลนด์ เป็นต้น






ประวัติกีตาร์เบส


เบส เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า) , electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและ การประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น
เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่
เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว
เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของ มือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น